วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เมาส์ (Mouse)

     เมาส์ (Mouse)   อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์Mouse

คีย์บอร์ด (Keyboard)

     คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Keyboard

CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW

      CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้คือ CD-RW หรือ DVD-RW โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับ Harddisk

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์CD-ROM


     การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น

ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)

      ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน 


     - IDE (Integrated Drive Electronics) 
     เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Harddisk แบบ IDE

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ IDE Cable



     - SCSI (Small Computer System Interface)
     เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก โดยจะอาศัย Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่โดยจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว แต่การ์ดบางรุ่นอาจจะได้ถึง 14 ตัวทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานในรูปแบบ Server เพราะมีราคาแพงแต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์Harddisk แบบ SCSI

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์SCSI controller



     
- Serial ATA (Advanced Technology Attachment)
     เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่ของ IDE ในปัจจุบัน
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์Harddisk แบบ Serial ATA

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์Serial ATA Cable

การ์ดแสดงผล (Display Card)

      การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย 

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Display Card

       หลักกันทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร

พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

      

     พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ

จอภาพ (Monitor) Computer

       จอภาพ เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ ชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
- จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube)  โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ   ซึ่งลักษณะ จอภาพชนิดนี้จะคล้ายโทรทัศน์ ซึ่งจะใช้หลอดสุญญากาศ 
   
- จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ  จะมี ขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที 

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Chipset

Chipset
    
     Chipset คือ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอกนิกส์สำหรับควบคุมการทำงานต่างๆ ของเมนบอร์ดคะ ซึ่ง Chipset มีความสำคัญมากสำหรับคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนเป็นผู้จัดการของซีพียูและเป็นหัวใจของเมนบอร์ด กล่าวคือ chipset จะทำหน้าที่ทั้งควบคุมการทำงาน กลวิธีในการเชื่อมต่อ การรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก หรือ อุปกรณ์รับเข้า-ส่งออก (input/output device) หรือ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ นอกจากนี้ งานทุกอย่างที่ซีพียูไม่ได้ทำ ชิปเซ็ตจะเป็นผู้ทำ เช่น การควบคุมและเป็นทางผ่านของข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การส่งข้อมูลจากหน่วยความจำหลักไปยังซีพียู การส่งผ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ จากไดรฟ์ซีดีรอม รวมถึงการส่งข้อมูลของแผงวงจร (Card) ต่าง ๆ เช่น VGA Card, AGP Card, Sound Card ฯลฯ

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

RAM

แรม (RAM: Random Access Memory )

     แรม เป็นหน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือหน่วยความจำชั่วคราว เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
      ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น

CPU

ซีพียู (CPU)



     ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
     1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้
     2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon

Mainboard Computer

Mainboard

     Mainboard หรือ mother board ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญไม่แพ้กับ CPU เพราะหน้าทีหลัก ๆ ของเมนบอร์ดก็คือเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่าง CPU และ อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น Ram ,VGA card ,soundcard ดังนั้นเมนบอร์ดที่ดีจึงควรมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลที่เร็ว ยิ่งเมนบอร์ดเร็วมากก็จะส่งผลให้การทำงานของคอมพิวเตอร์เร็วขึ้นตามไปด้วย

ชนิดของเมนบอร์ด
     เมนบอร์ดจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ แบบ AT และ ATX มีข้อแตกต่างกันตรงที่เมนบอร์ดแบบ AT จะไม่มีพอร์ตต่าง ๆ ต้องต่อสายแพให้ระโยงรยางค์ส่งผลให้เวลาติดตั้งเมนบอร์ดแล้วทำให้การระบายอากาศใน Case ทำได้ไม่ดี เป็นเมนบอร์ดยุคกลางปัจจุบันนี้ไม่ใช้กันแล้ว ใช้กับ CPU ในรุ่น 80386-pentium classic )

-เมนบอร์ด แบบ ATX เป็นเมนบอร์ดที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เพราะได้รวมเอาพอร์ตต่าง ๆ ไว้ในตัวทำให้ในเครื่องไม่มีสายแพมากนักจึงทำให้การระบายอากาศของตัวคอมพิวเตอร์ดีกว่าบอร์ดแบบ AT
-เมนบอร์ด บอร์ดแบบ AT จะมีช่องเสียบกับ power supply แบบหัวเดียว 20เข็มทำให้เวลาติดตั้งไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบหัวไฟเลี้ยงผิดแบบเมนบอร์ดแบบ AT

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สเป็คคอมพิวเตอร์ราคาประมาณ 10,000 บาท

สเป็คคอมพิวเตอร์ราคาประมาณ 10,000 บาท

CPU > INTEL 775 CELERON E3300 2.5 GHz = 1,620 BAHT
MAINBOARD > ASROCK G31-S = 1,360 BAHT
RAM > 1 GB. DDRII - 800 KINGSTON = 830 BAHT
VGA >  onboard
HARD DISK >  250 GB. PC SEAGATE SATA (B/F 8MB) (3-Y) = 1,290 BAHT
DVD Writer >  LG 22X GH-22 NS 40/50 =  730 BAHT
MOUSE >  M&D ร้านทั่วไป = 100 BAHT
KEYBOARD >  SUH ร้านทั่วไป = 150 BAHT
SPEAKER >  STERNO 240 W = 170 BAHT
CASE > HI-BEAT AK-378 ATX REAL 250W SUPPORT 450W 20+4 PIN = 810 BAHT
DISPLAY >  LED 15.6'' BENQ G610HDAL = 3,020 BAHT
SUB TOTAL =  10,080 BAHT

ที่มา
http://m-inter.co.th
http://www.hwhinter.com
http://www.jib.co.th

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

"ข้อมูลเกี่ยวกับความจุของข้อมูล"

ความจุข้อมูลหรือขนาดของข้อมูล ที่ใช้เรียกในระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ใช้การวัดขนาดของข้อมูลโดยทั่วไป มีดังนี้

- บิต (ฺBit) เป็นหน่วยวัดที่ใช้ในการบอกขนาดของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยแต่ละบิตถูกแสดงด้วย ตัวเลขไบนารี่ (ฺBinary Digits) คือ "0" หรือ "1" ซึ่งเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงสถานนะการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

-ไบต์ (Byte
) เป็นหน่วยวัดพื้นฐานที่สำคัญสำหรับใช้ในการบอกขนาดของข้อมูลหรือไฟล์ที่ สามารถพบเห็นได้ทั่วไป โดย 1 ไบต์ จะมี 8 บิต ซึ่งสามารถใช้แทนตัวอักษรใดๆ 1 ตัว โดยตัวอักษรนั้นอาจจะเป็นตัวเลข, พยัญชนะ หรือสัญลักษณ์ต่างๆ

- กิโลไบต์ (Kilobyte ตัวย่อคือ KB) จะมีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์ หรือประมาณ 1,000 ไบต์ (10 ยกกำลัง 10) ซึ่งเทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1,000 ตัวหรือประมาณ 1 หน้ากระดาษโดยประมาณ

- เมกกะไบต์ (Megabyte ตัวย่อคือ MB) จะมีค่าเท่ากับ 1,048,576 ไบต์ (10ยกกำลัง20) หรือประมาณ 1 ล้านไบต์ 10 ซึ่งเทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1 ล้านตัวหรือประมาณหนังสือ 1 เล่มโดยประมาณ

- กิกะไบต์ (Gigabyte ตัวย่อคือ GB) เป็นหน่วยวัดที่มักจะใช้บอกความจุของอุปกรณ์จำพวก ฮาร์ดดิสก์, แผ่นดีวีดี และอื่นๆ โดยจะมีค่าเท่ากับ 1,073,741,824 ไบต์ (10 ยกกำลัง30)หรือประมาณ 1 พันล้านไบต์ ซึ่งเทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1 พันล้านตัวหรือประมาณหนังสือที่ถูกบรรจุอยู่ในตู้หนังสือจำนวน 1 ตู้ โดยประมาณ

- เทอราไบต์ (Terabyte ตัวย่อคือ TB) เป็นหน่วยวัดที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น ซึ่งเทอราไบต์จะมีค่าเท่ากับ 1,099,511,627,776 ไบต์ 10 ยกกำลัง40 หรือประมาณ 1 ล้านล้านไบต์ ซึ่งเที่ยบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1 ล้านล้านตัวหรือประมาณหนังสือทั้งหมดที่ถูกบรรจุอยู่ในห้องสมุด 1 ห้องโดยประมาณ


ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไป ในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 1.5 เทระไบต์
ขนาดความหนา 8 inch: 9.5 นิ้วx4.624 นิ้วx14.25 นิ้ว (241.3 มิลลิเมตรx117.5 มิลลิเมตรx362 มิลลิเมตร)
ขนาดความหนา 5.25 inch: 5.75 นิ้วx1.63 นิ้วx8 นิ้ว (146.1 มิลลิเมตรx41.4 มิลลิเมตรx203 มิลลิเมตร)

"การแบ่งลักษณะข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล"

ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามหลักการประมวลผลคอมพิวเตอร์ 
ที่แบ่งตามลักษณะการประมวลผลนั้น จะหมายถึง การแบ่งตามสัญญาณข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลนั่นเอง    

จำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. คอมพิวเตอร์แบบแอนะล็อก (Analog Computer) 
หมายถึง เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle) ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) แสดงออกมาในลักษณะสัญญาณที่เรียกว่า Analog Signal เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักแสดงผลด้วยสเกลหน้าปัดและเข็มชี้ เช่น การวัดค่าความยาว โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัด การวัดค่าความร้อนจากการขยายตัวของปรอทเปรียบเทียบกับสเกลข้างหลอดแก้ว นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของ Analog Computer ที่ใช้การประมวลผลแบบเป็นขั้นตอน เช่น ครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำด้วยมาตรวัดน้ำที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นตัว เลขแสดงปริมาณ อุปกรณ์วัดความเร็วของรถยนต์ในลักษณะเข็มชี้ หรือเครื่องตรวจคลื่ยสมองที่แสดงผลเป็นรูปกราฟ เป็นต้น


2. คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer) 
ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆ ไปนั่นเอง เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับ ทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า หรือ Digital Signal อาศัยการนับสัญญาณข้อมูลที่เป็นจังหวะด้วยตัวนับ (Counter) ภายใต้ระบบฐานเวลา (Clock Time) มาตรฐาน ทำให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งสามารถนับข้อมูลให้ค่าความละเอียดสูง เช่นแสดงผลลัพธ์เป็นทศนิยมได้หลายตำแหน่ง เป็นต้น


3. คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม (Hybrid Computer)
เครื่อง ประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน ระหว่าง Analog Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศ ที่ใช้ Analog Computer ควบคุมการหมุนของตัวยาน และใช้ Digital Computer ในการคำนวณระยะทาง เป็นต้น
การทำงานแบบผสมผสานของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ ยังคงจำเป็นต้องอาศัยตัวเปลี่ยนสัญญาณ (Converter) เช่นเดิม

ทฤษฎี"เศรษฐกิจพอเพียง"

 “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลง

มีหลักพิจารณา ดังนี้

กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมี พื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้

1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

[งานบริการคอมพิวเตอร์]

หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 2 การทำงานของคอมพิวเตอร์
หน่วยทึ่ 3 ขั้นตอนการใช้คอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 4 ส่วนประกอบแผงวงจรหลัก
หน่วยที่ 5 อุปกรณ์รับข้อมูลและเก็บข้อมูล
หน่วยที่ 6 ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 7 การติดตั้งสายไฟสายสัญญาณ
หน่วยที่ 8 ติดตั้งอุปกรณ์แสดงผล
หน่วยที่ 9 การจัดการฮาร์ดดิสก์
หน่วยที่ 10 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
หน่วยที่ 11 การติดตั้งไดรเวอร์
หน่วยที่ 12 รักษาความสะอาดคอมพิวเตอร์